การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยของผู้โดยสารก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องบินระยะไกลข้ามทวีป
แม้ปัจจุบันเครื่องบินส่วนใหญ่มีระบบหมุนเวียนอากาศ สามารถหมุนเวียนอากาศในห้องโดยสารได้ถึง 50% มีการระบายอากาศประมาณ 20–30 ครั้งต่อชั่วโมง โดยอากาศหมุนเวียนจะถูกส่งผ่านแผ่นกรองอากาศแบบอนุภาคประสิทธิภาพสูง (HEPA) ชนิดเดียวกับที่ใช้ในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล เพื่อดักจับอนุภาคฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส แต่ด้วยปัจจัยอื่นๆ อาจส่งผลต่อโรคประจำตัวบางประเภทได้
14 โรค ที่ผู้ป่วยควรระวังเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน
1. โรคหัวใจ
2. ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass grafting)
3. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
4. โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis)
5. โรคหืด (Asthma)
6. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)
7. โรคลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) คือภาวะที่มีลมค้างในช่องเยื่อหุ้มปอด
8. โรคติดเชื้อ (Infectious disease)
9. โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
10. โรคลมชัก (Epilepsy)
11. โรคโลหิตจาง (Anemia)
12. โรคเบาหวาน (Diabetes)
13. โรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders)
14. ผู้ป่วยผ่าตัด
การเดินทางโดยเครื่องบิน มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วย หรือมีเงื่อนไขทางการแพทย์ อาจส่งผลต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการเดินทาง ดังนั้นผู้ป่วยโรคประจำตัว สตรีมีครรภ์ ทารกแรกเกิดและผู้ที่เพิ่งผ่านการดำน้ำมา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางด้วยเครื่องบิน ทั้งนี้นโยบายของสายการบินแตกต่างกันไป ควรตรวจสอบข้อกำหนดเสมอ ก่อนทำการจองเที่ยวบิน รวมถึงหาวิธีที่จะทำให้การเดินทางปลอดภัยและสะดวกสบายสำหรับตนเอง ผู้โดยสารอื่นๆ และลูกเรือ