โรคมือเท้าปาก (HFMD) เป็นโรคติดต่อที่มักพบในทารก เด็กเล็ก และเด็กวัยเรียน อายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เอนเทอโรไวรัส (Human Enteroviruses) ซึ่งส่งต่อผ่านน้ำลาย น้ำมูก ตุ่มน้ำ หรือผื่นผิวหนัง ซึ่งต่อให้หายจากโรคมือเท้าปากแล้ว ผู้ป่วยก็สามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อต่อได้อีกหลายสัปดาห์ และโรคนี้มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน ที่อากาศทั้งเย็นและชื้น ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
อาการของโรค มือ เท้า ปาก
โดยทั่วไปแล้ว โรคมือเท้าปาก มักมีอาการเริ่มต้นที่พบได้บ่อย ได้แก่ มีไข้ เจ็บคอ เบื่ออาหาร โรคนี้จะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-6 วัน ตามด้วยการมีไข้ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มปรากฏอาการตุ่มน้ำใสที่บริเวณปาก และลำคอ มีผื่นขึ้นแต่จะไม่รู้สึกคัน รวมถึงอาจมีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มนูนโผล่ขึ้นตามบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือก้น ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการผิดปกติทุกอย่างที่กล่าวมา โรคนี้โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะสามารถหายเองได้ภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน และมักมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง
ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นที่บริเวณปากและลำคอ แต่มีไข้สูงเฉียบพลัน หรืออาจมีอาการชักร่วมในบางราย นั่นอาจเป็นอาการป่วยของโรคเฮอร์แปงจิน่า (Herpangina) ซึ่งเป็นไวรัสอีกชนิดในกลุ่มเดียวกันก็เป็นได้ หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือมีอาการไม่ยอมรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ รวมไปถึงมีอาการผิดปกตินานเกิน 10 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กทุกคนมีโอกาสป่วยเป็นโรคมือเท้าปากได้ เพราะโรคนี้ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก ละอองฝอย และสารคัดหลั่งต่าง ๆ ดังนั้น ในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงที่เด็ก ๆ มีความใกล้ชิด มีการทำกิจกรรม มีการสัมผัสร่างกาย หรือสัมผัสสิ่งของร่วมกัน จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย และมักเกิดการระบาดในสถานที่ดังกล่าวมากเป็นพิเศษ
ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังของโรคมือเท้าปาก
● เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส เป็นอาการที่พบได้น้อย เกิดจากการที่เชื้อเอนเทอโรไวรัสเข้าสู่สมอง ส่งผลให้เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังเกิดการอักเสบ
● โรคไข้สมองอักเสบ เกิดจากการอักเสบของสมองที่พบได้ไม่บ่อย แต่เป็นอาการแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต
● ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากผู้ป่วยโรคมือเท้าปากจะสามารถรับประทานน้ำและอาหารได้น้อย เพราะเป็นแผลในปาก ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รักษาตัวในโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอะไรได้ เพื่อรับน้ำเกลือทดแทน
การดูแลรักษาเด็กที่บ้าน เมื่อเป็นมือเท้าปาก
● เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส เป็นอาการที่พบได้น้อย เกิดจากการที่เชื้อเอนเทอโรไวรัสเข้าสู่สมอง ส่งผลให้เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังเกิดการอักเสบ
● โรคไข้สมองอักเสบ เกิดจากการอักเสบของสมองที่พบได้ไม่บ่อย แต่เป็นอาการแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต
● ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากผู้ป่วยโรคมือเท้าปากจะสามารถรับประทานน้ำและอาหารได้น้อย เพราะเป็นแผลในปาก ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รักษาตัวในโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอะไรได้ เพื่อรับน้ำเกลือทดแทน
วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก
วิธีการป้องกันโรคมือเท้าปากที่สำคัญที่สุด คือการดูแลสุขอนามัยส่วนตัวอย่างเข้มงวด คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้ทำการล้างมือด้วยสบู่ก้อนก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากหยิบจับของเล่นให้เป็นนิสัย และตักเตือนให้ระวังการหยิบจับ ไม่เอาสิ่งของเข้าปาก ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมสม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดของเล่น และพื้นผิวที่เกิดการสัมผัสบ่อยครั้งอย่าง ลูกบิดประตู เป็นต้น นอกจากนี้ หากเกิดการระบาด หรือมีคนรู้จักที่ป่วยเป็นโรคนี้ ควรแนะนำให้ลูกหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง และหากลูกป่วยควรงดไปสถานที่ที่มีเด็กเยอะ
นพ.มิ่งเมือง วรวัฒนะกุล กุมารแพทย์ทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารในเด็ก โรงพยาบาลเมดพาร์ค
ปรึกษาและนัดหมายแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา ติดต่อ ศูนย์สุขภาพและโรคเฉพาะทางเด็ก ชั้น 8 เคาน์เตอร์ A และ B โทร. 02-090-3138
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment